วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

อาหารบำบัดความดันโลหิตสูง


      ยิ่งอายุมากขึ้น ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นความดันโลหิตสูง เพราะนอกจากร่างกายเราจะรับประทานอาหารอร่อยๆ เข้าไปเหมือนเดิม โดยที่ร่างกายเราเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง จนไขมันสะสมในร่างกายตามส่วนต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น อาหารที่มีขายในท้องตลาดก็ถือว่าไม่ถูกหลักโภชนาการเสียทีเดียว จะขอแนะนำอาหารที่ผู้ที่เสี่ยงต่อการมีความดันโลหิตสูง (หรือคนที่ท้วมๆ อ้วนๆ นี่แหละ) ควรทาน และควรเลี่ยง



10 อาหารที่ควรทาน เพื่อลดความดันโลหิตสูง


1. แตงโม ควบคุมการไหลเวียนของโลหิต และควบคุมการขยายตัวของเส้นเลือด 



2. ขึ้นฉ่าย ช่วยลดความเครียดที่ก่อให้เกิดปัญหาเส้นเลือดอุดตัน



3. กล้วย ช่วยสร้างสมดุลให้ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียม และโพแทสเซียมในอัตราที่สมดุลกับการทำงานของไต



4. น้ำมันมะกอก เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ช่วยลดความดัน คอเลสเตอรอล ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก


5. กระเทียม มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอลเกาะตามผนังหลอดเลือดแดง



6. ข้าวกล้อง แหล่งพลังงานและใยอาหารที่ดี มีประโยชน์



7. งาดำ งาขาว มีโปรตีนที่ดี ไม่มีไขมัน



8. ถั่ว เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดทานตะวัน มีแมกนีเซียม ช่วยในการเผาผลาญไขมัน



9. ปลา (ลอกหนังออก) หอย มีโปรตีนที่ดี ไขมันต่ำ และแมกนีเซียม ให้พลังงานและช่วยทำให้หลอดเลือดหัวใจแข็งแรง



10. นมจืดไขมันต่ำ เป็นแหล่งโปรตีน แคลเซียมที่ช่วยดูแลกระดูก


 10 อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูง

      คืออาหารที่มีรสเค็ม หวานจัด หรือมีปริมาณโซเดียม และไขมันที่ไม่ดีสูง เช่น
1. น้ำปลา ซีอิ้ว ซอสปรุงรสต่างๆ
2. เต้าเจี้ยว
3. ผักดอง และอาหารดองต่างๆ
4. อาหารแช่แข็ง มักมีปริมาณโซเดียม หรือรสเค็มสูง
5. น้ำอัดลม
6. ลูกอม เยลลี่ ขนมกรุบกรอบรสหวาน
7. มันหมู มันเนื้อ ไก่ติดหนัง
8. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
9. เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา
10. ขนมหวาน เช่น เค้ก คุกกี้ โดนัท ไอศกรีม
https://www.sanook.com/health/1677/
การกินแบบ DASH
คือ การกินที่เน้นอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม และใยอาหาร เพราะสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง อาหารทีแนะนำ ได้แก่
 น้ำมันพืช เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า 2-3 ช้อนชาต่อวัน
 เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ปลา ไข่ขาว อกไก่ 4-6 ช้อนต่อวัน
 ผักสุก 4-5 กำมือแน่นๆ ต่อวัน หรือประมาณ 2 ถ้วยแบ่งต่อมื้อ
 นมจืดไขมันต่ำหรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม 2-3 แก้วต่อวัน หรือโยเกิร์ตไขมันต่ำน้ำตาลน้อย 2-3 ถ้วยต่อวัน หรือชีสไขมันต่ำ 2-3 แผ่นต่อวัน
 จำกัดของหวานและน้ำตาลไม่เกิน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น น้ำตาลทรายหรือน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ เยลลี่หรือไอศกรีมครึ่งถ้วย เป็นต้น
 ข้าวกล้อง เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปังโฮวีต ซีเรียล ช้าวโอ๊ต 6-8 ทัพพีต่อวัน
 ผลไม้ 4-5 จานเล็กๆ ต่อวัน 
 ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดพืช เช่น ถั่วเหลือง อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดทานตะวัน 8-10 ช้อนโต๊ะต่อวัน หรือรับประทานในรูปของเต้าหู้ ฟองเต้าหู้แทน

Tips 3 ไม่ 4 ควร ปลดชนวนความดันโลหิตสูง

1.ไม่กินเค็ม โดยลดการใช้เครื่องปรุงน้ำจิ้มลงครึ่งหนึ่ง หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปต่างๆ เช่น อาหารหมักดอง ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ปลารมควัน อาหารกระป๋อง อาหารกึ่งสำเร็จรูปต่างๆ
2.ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ หากต้องดื่มแอลกอฮอล์ให้จำกัดปริมาณไม่เกิน 1 ดริ๊งค์ สำหรับผู้หญิง และไม่เกิน 2 ดริ๊งค์สำหรับผู้ชาย ทั้งนี้ปริมาณ 1 ดริ๊งค์ หมายถึง เบียร์ 1 กระป๋องเล็ก หรือเหล้า วิสกี้ 1 เป๊ก หรือไวน์ 1 แก้ว
3.ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เพราะเพิ่มอัตราการบีบตัวของหัวใจ ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มได้
1.ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุงจากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายจะช่วยได้มาก โดยน้ำหนักตัวที่ลดลงทุกๆ 10 กิโลกรัมช่วยลดความดันโลหิตลงได้ 5-20 มิลลิเมตรปรอท
2.ควรกินแบบ DASH
3.ควรพักผ่อนกายและใจให้เพียงพอ รู้จักจัดการกับความเครียด
4.ควรออกกำลังกาย เช่น เดินเร็ววันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5-7 วัน หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์ ช่วยลดความดันโลหิตได้ 4-9 มิลลิเมตรปรอท

https://www.haijai.com/4125/


นวัตกรรม "พรมหินนวดเท้า"


หลักการและเหตุผล 
      จากการสำรวจปัญหาของชาวบ้านบ้านนาโนน ตำบลจานลาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ พบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมากปัญหาหนึ่งของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบคือ การสูญเสียความรู้สึกที่ปลายประสาทของเท้า กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการดูแล อาจจะทำให้เกิด บาดแผลที่เท้าโดยไม่รู้ตัว นำไปสู่การติดเชื้อของบาดแผลจนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆนำไปสู่การสูญเสีย อวัยวะ นักศึกษาสาขาสาธารณสุขชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีจึงได้ เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาภาวะแทรกซ้อนด้านระบบประสาทในผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงคิดค้นนวัตกรรม พรมหินนวดเท้าขึ้น

วัตถุประสงค์ 
1.เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนปลาย 
2.เพื่อการบริหารเท้าเพิ่มการไหลเวียนของเลือด 
3.เพื่อผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้ทุกเวลา สะดวกในการออกกำลังกาย

ขั้นตอนสร้างนวัตกรรม
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมอุปกรณ์ดังนี้ กาวร้อน กรรไกร คัตเตอร์ สีเมจิก ก้อนหิน พรมเช็ดเท้า กระดานไม้อัด


ขั้นตอนที่ 2 นำพรมมาตัดให้เป็นรูปเท้า โดยการวัด ขนาดของเท้าที่วัดจาก ผู้ชายหนึ่งคนในกลุ่มและผู้หญิงหนึ่ง คนในกลุ่ม จากนั้น นำก้อนหินที่เตรียมไว้ มาทากาวแล้วแปะลงบนพรมที่ตัดไว้

ขั้นตอนที่3 นำพรมหินรูปเท้าที่แปะก้อนหินเรียบร้อยแล้ว นำมาติดกาวกับพรมอีกผืนที่เตรียมไว้ นำก้อนหินทา กาวแล้วแปะลงบนพื้นที่ที่เหลือด้านบนของพรม

ขั้นตอนที่ 4 เพิ่มความแข็งแรงของพรมและสะดวกในการเคลื่อนย้าย โดยการนำพรมทากาวติดกับแผ่นไม้อัด ที่เตรียมไว้ 


ผลการศึกษา 
     จากการทอลองใช้นวัตกรรมพรมหินนวดเท้ากับผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นเป็นโรคเบาหวาน พบว่าผู้ป่วยมี อาการปวดบริเวณปลายปลายเท้าน้อยลง ผู้ป่วยสามารถเดินได้นานขึ้น และมีอาการปวดน้อยลงใช้ยาแก้ปวด น้อยลง

สรุปผลการดำเนินงาน 
     จากการนำวัตกรรมพรมหินนวดเท้าไปทดลองใช้กับผู้ป่วยพบว่าการรับความรู้สึกของระบบประสาท ส่วนปลายดีขึ้น ผู้ป่วยสามารถใช้พรมหินนวดเท้าบริหารเท้าเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และจากการสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยโดยใช้แบบสอบถาม ผู้ป่วยมีความพึ่งพอใจมากสุดในเรื่องของการลดอาการปวดและ อาการชาบริเวณปลายเท้า ดังนั้น การทำพรมหินนวดเท้าเพื่อช่วยลดอาการปวดและชาบริเวณปลายเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควรเพิ่มพื้นที่และขนาดของพรมให้มีขนาดใหญ่และกว้างขึ้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการเดินของผู้ป่วย

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

โรคหลอดเลือดสมองตีบ
โรคเบาหวาน
โรคไต
โรคเหน็บชา
โรคหลอดเลือดสมองแตก


กรุณาดูวีดีทัศน์ด้านล่าง



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง (Hypertension)




ปัจจัยเสี่ยง
         ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่
    - พันธุกรรม โอกาสมีความดันโลหิตสูง จะสูงขึ้นเมื่อมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
    - โรคเบาหวาน เพราะก่อให้เกิดการอักเสบ ตีบแคบของหลอดเลือดต่าง ๆ รวมทั้งของไต
    - โรคอ้วน และน้ำหนักตัวเกิน เพราะเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดต่าง ๆ ตีบจากภาวะไขมันเกาะผนังหลอดเลือด
    -โรคไตเรื้อรัง เพราะจะส่งผลถึงการสร้างเอ็นไซม์และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิตดังกล่าวแล้ว
    - โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea)
    - สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ตีบตันของหลอดเลือดต่าง ๆ รวมทั้งหลอดเลือดไต และหลอดเลือดหัวใจ
    - การติดสุรา ซึ่งยังไม่ทราบชัดเจนถึงกลไกว่าทำไมดื่มสุราแล้วจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง แต่การศึกษาต่าง ๆ ให้ผลตรงกันว่า คนที่ติดสุรา จะส่งผลให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ
และมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง ถึงประมาณ 50%ของผู้ติดสุราทั้งหมด
   - กินอาหารเค็มสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ดังเหตุผลดังได้กล่าวแล้ว
   - ขาดการออกกำลังกาย เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคอ้วนและโรคเบาหวาน
   - ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์

อาการ



         เป็นโรคที่มักไม่มีอาการ และจากการที่เป็นโรคเรื้อรังที่รุนแรงถ้าไม่สามารถควบคุมโรคได้แต่มักไม่มีอาการ แพทย์บางท่านจึงเรียกโรคความดันโลหิตสูงว่า “เพชฌฆาตเงียบ (Silent killer)” ทั้งนี้ส่วนใหญ่ของอาการจากโรคความดันโลหิตสูง เป็นอาการจากผลข้างเคียง เช่น จากโรคหัวใจ และจากโรคหลอดเลือดในสมอง หรือ เป็นอาการจากโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น อาการจากโรคเบาหวาน หรือ จากโรคอ้วน หรือเป็นอาการจากโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง (ปวดศีรษะ และตาเห็นภาพไม่ชัด)
        อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการจากตัวความดันโลหิตสูงเองได้ โดยอาการที่อาจพบได้ เช่น ปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน สับสน และเมื่อมีอาการมากอาจโคมา และเสียชีวิตได้

การรักษา
        แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง คือ การให้ยาลดความดันโลหิต การรักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงและเป็นสาเหตุ การรักษาและป้องกันผลข้างเคียงจากโรคความดันโลหิตสูง และการรักษาประคับประคองตามอาการ การให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งมีหลากหลายชนิด ทั้งชนิดกินและชนิดฉีดขึ้นกับความรุนแรงของอาการ การรักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น รักษาโรคเบาหวาน การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น รักษาโรคไตเรื้อรัง หรือ รักษาโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง การรักษาผลข้างเคียงจากโรคความดันโลหิตสูง เช่น การรักษาโรคไตเรื้อรัง (โรคไตเป็นได้ทั้งสาเหตุ และผลข้างเคียงจากโรคความดันโลหิตสูง) การรักษาประคบประคองตามอาการ เช่น กินยาคลายเครียด และการพักผ่อนอย่างพอเพียง เป็นต้น

การดูแลตนเอง
        การดูแลตนเอง การพบแพทย์เมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่
   - ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาล แนะนำอย่างเคร่งครัด ถูกต้อง
   - กินยาต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา
   - จำกัดอาหาร แป้ง น้ำตาล ไขมัน และอาหารเค็ม
   - จำกัดอาหารไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
   - ออกกำลังกายตามสุขภาพสม่ำเสมอทุกวัน
   - รักษาสุขภาพจิต ไม่เครียด เข้าใจและยอมรับชีวิต
   - เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ เลิกสุรา
   - พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือเมื่ออาการต่าง ๆ เลวลง หรือ เมื่อกังวลในอาการ
   - รีบพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง หรือ ฉุกเฉิน ขึ้นกับความรุนแรงของอาการเมื่อ
   - ปวดศีรษะมาก
   - เหนื่อยมากกว่าปกติมาก เท้าบวม (อาการของโรคหัวใจล้มเหลว)
   -เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น เหงื่อออกมาก จะเป็นลม (อาการจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน)
   - แขน ขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว คลื่นไส้ อาเจียน (อาการจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน)

การป้องกัน
        การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ที่สำคัญ คือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดย
   - กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบทุกวัน ในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ ไม่ให้เกิดโรคอ้วน และน้ำหนักตัวเกิน และจำกัดอาหารไขมัน แป้ง น้ำตาล และอาหารเค็ม เพิ่มผักและผลไม้ชนิดไม่หวานให้มาก ๆ
   - ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน ตามสุขภาพ
   - พักผ่อนให้เพียงพอ
   - รักษาสุขภาพจิต
   - ตรวจสุขภาพประจำปี (การตรวจสุขภาพ) ซึ่งรวมถึงตรวจวัดความดันโลหิต เริ่มได้ตั้งแต่อายุ 18 - 20 ปี หลังจากนั้นตรวจสุขภาพบ่อยตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ

http://haamor.com/th/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8
%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%
AA%E0%B8%B9%E0%B8%87/